วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติพระวิริยากรโกศล (หลวงพ่อทองเบิ้ม)




ประวัติหลวงพ่อทองเบิ้ม 
            นามเดิม  ทองเบิ้ม  นามสกุล  ลิบลับ  เกิดวันอาทิตย์  ที่  ๔  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๔  ตรงกับวันขึ้น  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๒  ปีกุน  ชาติภูมิอำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  นามบิดา  ม่องลั่น  ลิบลับ  นามมารดา  นางพิม  ลิบลับ  ได้อุปสมบทเมื่อวันอังคาร  ขึ้น ๒  ค่ำ  เดือน ๑  ปีวอก  ตรงกับวันที่  ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๔๗๕  ณ  วัดวังยาว  ตำบลกุยบุรี  อำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยมีพระสุเมธีวรคุณ  (เปี่ยม  จนฺทโชโต)  อดีตเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วัดเกาะหลัก  ต.เกาะหลัก  อ.เมือง  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพระอุปัชฌาย์
            ในปี  พ.ศ. ๒๔๘๖  ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม  ที่วัดวังยาวสอบได้นักธรรมชั้นตรี  และในปี  พ.ศ. ๒๕๑๓  สำเร็จการอบรมโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง  รุ่นที่ ๑
            ปัจจุบัน  ท่านได้มรณภาพ  เมื่อวันที่  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๒ 
งานปกครอง
พ.ศ.  ๒๔๗๙   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส  วัดวังยาว  และผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๔๘๐   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดวังยาว  และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๔๘๓  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตำแหน่งสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๔๙๐   ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
พ.ศ.  ๒๔๙๓   ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.  ๒๕๐๖   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุยบุรี  อีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.  ๒๕๐๘   ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอกุยบุรี
พ.ศ.  ๒๕๐๙   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอกุยบุรี
งานศึกษา
พ.ศ.  ๒๔๗๙   เป็นเจ้าสำนักเรียนปริยัติธรรมวัดวังยาว
พ.ศ.  ๒๔๘๒   เป็นประธานสนามสอบปริยัติธรรมสนามหลวงในตำบลกุยบุรี  สอบที่วัดวังยาว
พ.ศ.  ๒๔๙๘   เป็นผู้อุปการะโรงเรียนบ้านปากเหมือง  วิริยสงเคราะห์  และโรงเรียนวัดวังยาว  (เดิมโรงเรียนบ้านวังยาว  และโรงเรียนกุยบุรี  รวมกัน)
พ.ศ.  ๒๔๙๘   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจประโยชคธรรมสนามหลวง


สมณศักดิ์
พ.ศ.  ๒๔๙๐   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  ที่พระครูวิริยาธิการี  พระครูสัญญบัตร  กรรมการสงฆ์  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตำแหน่งสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๕๐๕   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะยก  ที่  พระวิริยากรโกศล

ท่านได้มรณภาพลง ในวันที่  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๒  นับตั้งแต่ท่านมรณภาพลงนั้น  เจ้าอาวาส
รูปปัจจุบัน  และศิษยานุศิษย์  ได้บำเพ็ญกุศลให้ท่าน ในวันที่  ๒๔ พฤศจิกายน  ของทุกๆ ปี  ในปีนี้ พ.ศ. 
๒๕๕๕  เป็นปีที่  ๑๓  แล้ว  โดยที่ชาวบ้านทั่วไปกล่าวขานและยกให้ท่านศักสิทธิ์เรื่อง "ปากพระร่วง"  
วาจาท่านศักสิทธิ์ยิ่งนัก  ที่สำคัญสรีระของท่านยังไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย  


วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวัดวังยาว




เนื่องจาก  แต่ก่อนนี้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  การเดินทางจะสะดวกโดยทางรถไฟ  เพราะถนน
เพชรเกษมยังไม่ได้ตัดผ่าน  วัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีไม่มากพระอุปัชฌาย์ที่จะให้การบรรพชา
อุปสมบทกุลบุตรมีไม่กี่รูปที่กุยบุรี เป็นที่ลำบากสำหรับกุลบุตรผู้ศรัทธาที่จะบรรพชาอุปสมบท  เพราะการคมนาคมลำบากพระอุปัชฌาย์จะมาให้การบรรพชาอุปสมบทต้องเดินทางด้วยเท้าหรือเกวียน  ใช้เวลาเป็นวันหรือหลายวัน  โรคภัยไข้เจ็บก็ชุกชุมเจ็บป่วยได้ง่าย
            ในปี  พ..๒๔๖๕    ท่านเจ้าคุณพระสุเมธีวรคุณ (เปี่ยม  จนฺทโชโต)   ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง
เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีสมณศักดิ์ในขณะนั้นที่พระครูธรรมโสภิต  พำนักอยู่ที่วัดนาห้วย  อำเภอปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   เป็นพระอุปัชฌาย์  ได้ปรารภกับหมื่นถาวรแพทย์  (เงิน  ถาวรนันท์กำนันตำบลกุยบุรี   ถึงเรื่องที่จะสร้างโบสถ์ขึ้นที่กุยบุรีสักแห่งหนึ่ง   เพื่อเป็นสถานที่ให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรได้สะดวก   ท่านเจ้าคุณฯ กับหมื่นถาวรแพทย์  ไปดูที่เพื่อสร้างโบสถ์วัดอู่ตะเภา   เมื่อดูแล้วท่านไม่ชอบ   หมื่นถาวรแพทย์จึงพาไปดูที่อื่นอีก  ท่านก็ไม่ชอบอีก  จึงไม่สร้างครั้นจะสร้างขึ้นที่วัดกุยบุรี  ท่านเจ้าคุณว่าไกลไป  จึงพาไปดูที่วัดท่าเฝือกเมื่อดูแล้วท่านก็ไม่ชอบอีกท่านจึงตกลงใจว่าจะสร้างวัดขึ้นใหม่อีกหนึ่งวัด ซึ่ง ต้องอยู่ใกล้สถานีรถไฟกุยบุรีและใกล้กับตลาดกุยบุรีด้วยและไม่ไกลกับแม่น้ำกุยบุรีได้มอบให้ หมื่นถาวรแพทย์เป็นผู้หาสถานที่
            แม่ชีพริ้ม  บ้านวังยาว  ได้ทราบเรื่องจะสร้างวัดขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่ง   จึงไปหาหมื่นถาวรแพทย์
ยื่นความจำนงยกที่ดินของตนให้สร้างวัด    จากนั้นอีก ๒-๓ วัน ท่านทั้งสาม คือ ท่านเจ้าคุณพระสุเมธีวรคุณ  หมื่นถาวรแพทย์ และแม่ชีพริ้มพากันไปดูที่ที่แม่ชีจะยกให้  ท่านเจ้าคุณฯ  ดูแล้วชอบใจมาก  เพราะตรงกับจุดประสงค์ของท่านคือ อยู่ใกล้สถานีรถไฟ  ตลาดกุยบุรี  แม่น้ำกุยบุรี  ทั้งยังเป็นที่สงัดเงียบ  มีบริเวณกว้างขวางเป็นนที่ราบเรียบ  จึงตกลงให้ดำเนินการสร้างวัด
ใหม่ได้
            ที่ดินที่แม่ชีพริ้มยกให้แปลงนี้    ทิศเหนือจรดทางเกวียนยาว  ๑๒๔  เมตร  ทิศใต้จรด ทางเกวียน ยาว ๑๒๔ เมตร   ทิศตะวันออกยาว  ๑๙๐  เมตร  ซึ่งจรดทางเกวียนเช่นเดียวกัน  ทิศตะวันตกยาว  ๑๙๐  เมตร  ซึ่งมีเนื้อที่  ๑๔  ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตาราง (ปัจจุบันเป็นถนนสาธารณประโยชน์ไปตัดเสียบ้าง  จึงมีเนื้อที่เหลืออยู่  ๑๔ ไร่ กับ ๖ ตารางวา แม่ชีพริ้มได้ลงมือ ฟันป่าขุดตอเตรียมพื้นที่ด้วยตนเอง  และขุนจิตรกำนันเก่า (สุ่น ประจวบเหมาะ) ได้ถวายบ้านเก่าทรงไทย  ๑ หลัง  เพื่อสร้างกุฏิ  ชาวบ้านได้ช่วยกันรื้อถอนแล้วนำมาสร้างกุฎิ
         ท่านเจ้าคุณฯ และชาวบ้านได้ทำการปลูกสร้าง  ในวันที่  ๒  สิงหาคม  พ..๒๔๖๕  เสร็จในปีพ..๒๔๖๖  แล้วนิมนต์เจ้าอธิการกลิ้ง  วัดอู่ตะเภามาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดรูปแรก   มีเรื่องเล่าว่าเมื่อวันทำพิธีสร้างวัดนั้นท่านเจ้าคุณฯ  พูดว่า วัดนี้สร้างเพื่อสร้างคนให้เป็นพระและพระ ก็ต้องเป็นเถระปกครองคณะสงฆ์ได้”  วัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้มีชื่อว่า วัดวังยาว”  เรียกหมู่บ้านคนนั้นว่า  บ้านวังยาว (ตามชื่อวังน้ำที่เป็นวังที่กว้างและยาว)
            เจ้าอธิการกลิ้งได้สร้างวัดนี้โดยมีท่านเจ้าคุณฯ  เป็นผู้แนะนำ  หมื่นถาวรแพทย์และชาวบ้านเป็น ผู้ช่วยเหลือ  ได้สร้างกุฏิ ๓ หลังๆละ ๓ ห้อง  เป็นไม้เนื้อแข็งพื้นและฝาเป็นไม้ตะแบกราคาหลังละ ๑,๐๐๐ บาท  ปัจจุบันยังคงอยู่  เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วก็จัดการสร้างอุโบสถควบคู่กันไปด้วย  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  ๒๔  เมษายน  พ..๒๔๖๘  และทำการผูกพัทธสีมาในปี  พ..๒๔๖๙  หลังจากจัดการผูกพัทธสีมาแล้วเจ้าอธิการกลิ้งก็ลาสิกขา
            วัดวังยาวได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่  ๒๗  สิงหาคม  พ..๒๕๒๗   เนื้อที่กว้าง  ๒๐ เมตร   ยาว  ๔๐  เมตร  และได้ทำการผูกพัทธสีมา โดยทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงปิดทองยกช่อฟ้าและตัดสาแหรกลูกนิมิต เมื่อวันที่  ๒๖  พฤษภาคม  พ..๒๕๒๙